Morseng herbs Delivery in LuangPrabang ,Laos สุนจำหน่าย สะหมุนไพ หมอเส็ง LuangPrbang สปปลาว บอลิกานส่งเภิงที่ in Luang Prabang พิเสด รับสะมาชิก ตัวแทนจำหน่าย ลายได้ดี Tel 856 20 22380244 สนใจ ร่วมธุรกิจเพียง 500 บาท โดยไม่ต้องลงทุน หรือสมัครสมาชิกเพื่อรับส่วนลดสินค้า25%ตลอดชีพทั่วประเทศ โดยมีการต่ออายุสมาชิก 100 บาทต่อ year ได้ทันทีโทร 850 20 22380244 รับแฟ๊ม แค๊ตตาล็อคสินค้า คู่มือดำเนินธุรกิจ บัตรสมาชิกตลอดชีพ จัดส่งถึงบ้าน
ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553
คอเลสเตอรอล
คอเลสเตอรอล
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ สารไขมันคล้ายขี้ผึ้งที่ปรากฏอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย เนื่องจาก cholesterol มีความสำคัญต่อร่างกายมาก จนกระทั่งร่างกายจำเป็นต้องมีขบวนการสร้าง cholesterol ขึ้นเอง ทั้งนี้เพื่อประกันว่าจะมี cholesterol อยู่เสมอ ขณะที่ cholesterol อีกส่วนหนึ่ง ร่างกายจะได้จากอาหาร จำพวก นม เนย ไข่ และเนื้อสัตว์ แต่เนื่องจากพืชไม่สร้าง cholesterol ดังนั้นอาหารจำพวกพืชจึงปราศจาก cholesterol
ปกติร่างกายจะรักษาความสมดุลของ cholesterol ให้คงที่เสมอ กล่าวคือ ถ้ากินอาหารพวกเนื้อสัตว์มาก ร่างกายก็จะลดการสร้าง cholesterol ลง ในทางตรงข้ามถ้ากินอาหารที่เป็นพืชมากร่างกายก็จะสร้าง cholesterol เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย โดย cholesterol ส่วนเกินจะถูกส่งไปที่ตับในน้ำดี และถูกกำจัดออกทางอุจจาระ
การสูงขึ้นของระดับ cholesterol ที่ผิดปกติ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ จากพันธุกรรม และพฤติกรรมการกินอาหารของแต่ละบุคคล และอาจรวมถึงสาเหตุอื่นด้วย เช่น การขาดการออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่เป็นต้น
ไขมันในเลือด มี 3 ประเภทดังนี้
1) LDL (low density lipoprotein) LDL Cholesterol เป็นไขมันตัวร้าย ถ้ามีมากจะสะสมในหลอดเลือดแดง มาจากการบริโภคอาหารที่มี คอเลสเตอรอลสูง ยิ่งระดับ LDL-C สูงเท่าไหร่ อัตราการเป็นโรคหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
2) HDL (high density lipoprotein) HDL Cholesterol เป็นไขมันตัวดี มีหน้าที่กำจัดคอเลสเตอรอลออกจากผนังเส้นเลือด และป้องกันการเกิดเส้นเลือดแข็งตัว ดังนั้นการมีระดับ HDL-C ในเลือดสูง จะลดอัตราเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจตีบตัน หัวใจแข็งตัวได้
3) TG (Triglyceride) เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งในกระแสเลือดเปรียบเสมือน "ผู้ช่วยตัวร้าย" ได้มาจากไขมันที่มาจากทั้งพืชและสัตว์ TG มีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมวิตามิน A D E K แต่ถ้ามีระดับ TG ในเลือดสูงเกินไปพร้อมกับระดับ LDL-C สูงด้วย จะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและทำให้ตับอ่อนอักเสบ
คอเลสเตอรอลกับหัวใจ จากการวิจัยของต่างประเทศพบว่า คอเลสเตอรอลเริ่มสะสมตามหลอดเลือดหัวใจได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี และจะอันตรายยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมเป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลมากกว่าปกติ หากพบว่ามีความเสี่ยงดังกล่าวและผลตรวจร่างกายชี้ชัดว่ามีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง ควรรีบไปพบแพทย์
คอเลสเตอรอลกับสมอง เมื่อคอเลสเตอรอลเข้าไปสะสมในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองไม่ว่าจะบริเวณใดก็ตาม จะก่อให้เกิดความผิดปกติบริเวณนั้นๆ เช่น หากเส้นเลือดบริเวณสมองส่วนควบคุมการทรงตัวเกิดตีบ ตัน หรือแตก ร่างกายก็สูญเสียการควบคุมการทรงตัว กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือพาร์คินสัน หากเกิดกับเส้นเลือดสมองส่วนควบคุมการรับรู้ อาจทำให้ความจำเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์ เป็นต้น แต่ก่อนที่อาการผิดปกติของเส้นเลือดจะส่งผลถึงสมอง มักจะเกิดขึ้นกับหัวใจก่อนเสมอ
คอเลสเตอรอลกับตับและไต หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับหรือไตเกิดอาการตีบ แตกหรือตัน ก็อาจทำให้ตับหรือไตสูญเสียการทำงาน ถึงขั้นตับวายหรือไตวายจนเสียชีวิตได้
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ส่วนมากคงจะคุ้นเคยกับคอเลสเตอรอล ซึ่งมีผลต่อการตีบตันของหลอดเลือดแดงในร่างกาย แต่ยังมีไขมันในเลือดอีกตัวหนึ่งคือไตรกลีเซอไรด์ ที่มีผลเสียต่อสุขภาพของหลอดเลือดแดงเช่นกันถ้าระดับของไขมันในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์คล้ายโคเลสเตอรอลที่สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดได้โดยตัวมันเอง จากงานวิจัยพบว่าแม้คอเลสเตอรอลในเลือดจะมีระดับปกติ แต่ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูงจะทำให้สามารถเกิดโรคได้คือ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ถ้าระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคตับอ่อนอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ตายได้
ในทางเคมีไตรกลีเซอไรด์ เป็นสารประกอบที่มีกรดไขมัน 3 โมเลกุล ซึ่งถูกทำให้เป็นเกลือเอสเตอร์ ที่เรียกว่ากลีเซอรอล ไตรกลีเซอรอลเป็นไขมันที่เป็นกลาง สังเคราะห์มาจากคาร์โบไฮเดรตแล้วเอาไปเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน เมื่อเซลล์ไขมันถูกย่อย มันจะปล่อยกรดไขมันออกมาสู่กระแสเลือด ถ้าคุณมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรจะเปลี่ยนวิถีชีวิตการกินอยู่ให้ดีขึ้น เช่นลด ละ เลิก อาหารบางอย่างร่วมกับการออกกำลังกาย
คนที่มีความเสี่ยงต่อไตรกลีเซอไรด์สูง
- คนอ้วน
- ดื่มแอลกอฮอล์ สารตัวนี้ทำให้ตับผลิต ไตรกลีเซอไรด์ มากขึ้น และลดการกำจัดไขมันจากเลือด ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง
- กินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะของหวานที่มีน้ำตาลมาก น้ำตาลส่วนเกินจะเปลี่ยนไปเป็น ไตรกลีเซอไรด์
- อายุมาก คนที่อายุมากจะมีระดับ ไตรกลีเซอไรด์ สูงขึ้นด้วย
- ยาบางตัวทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มสูงขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะ ไธอาไซด์(Thiazide diuretics) การให้ฮอร์โมนรักษาโรคคุมกำเนิดบางตัว
- พันธุกรรม
- จากโรคบางชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 2 ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคตับ และโรคไต
ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงสามารถทำให้ลดลงได้ ด้วยการควบคุมอาหาร คือลดอาหารประเภทไขมัน น้ำตาล และแอลกอฮอล์ การลดน้ำหนักและออกกำลังกายวันละ 30 นาที ก็สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ การกินอาหารประเภทปลา ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงได้ นักวิจัยพบว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลามีฤทธิ์ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับ (HDL)คอเลสเตอรอลตัวที่ดี ซึ่งทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาต อัมพฤกษ์ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น