ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตับอักเสบ Hepatitis



ตับอักเสบ Hepatitis


ไวรัสตับอักเสบเอ ตัวเหลือง ตาเหลือง
โรค ไวรัสตับอักเสบเอ หรือโรคไวรัสลงตับเกิดจากการอักเสบของเซลส์ตับทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือน้อยลงเป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วย โรคตับอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเชื้อไวรัสที่พบบ่อยคือเชื้อไวรัสตับอับเสบ เอ และ บี อาการส่วนใหญ่ที่พบมักมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือโรคดีซ่านแบบเฉียบพลัน ประมาณร้อยละ 60-70 % ของผู้ป่วยมักเกิดจากเชื้อไว้รัสตับอักเสบเอ


อาการ
ตา เหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย ในกรณีที่ตับอักเสบอย่างรุนแรงจนตับวาย อาจเป็นผลทำให้เสียชีวิตได้ อาการจะรุนแรงมากขึ้นตามอายุ ในผู้ใหญ่อาการมักจะเริ่มต้น ด้วยการมีไข้ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากนั้น ประมาณ 3-5 วันจะเริ่มปัสสาวะสีเข้ม และมีไข้ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา
การติดต่อ
เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
การป้องกัน
- รับประทานอาหารและน้ำที่สะอาด
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และควรใช้ช้อนกลาง
- ขับถ่ายในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
- กำจัดขยะและสิ่งปฎิกูลเพื่อมิให้ปนเปื้อนไปสู่แหล่งน้ำและอาหารของชุมชนได้


ไวรัสตับอักเสบบี ..แม่มีเชื้อ.. ลูกมีโอกาสรับเชื้อ 90 %
เป็น การอักเสบของตับซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบบี โดยเชื้อไวรัสจะบุกรุกเข้าสู่เซลล์ตับและก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น ในบางกรณีเชื้ออาจจะอยู่นิ่งเป็นปีๆ โดยผู้ที่มีเชื้อไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย เชื้อนี้สามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ตับ ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายตับ
การติดต่อ

- มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่สวมถุงยาง
- การจูบกันจะไม่ติดต่อถ้าปากไม่มีแผล
- ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- ใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตัวร่วมกันและการเจาะหู
- ใช้แปรงสีฟันร่วมกัน มีดโกน ที่ตัดเล็บ
- แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะคลอด ถ้าแม่มีเชื้อลูกสามารถมีโอกาสได้รับเชื้อ 90 %
- ถูกเข็มติดเชื้อตำจากการทำงาน
- รักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้ออยู่
- โดยการสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดคั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส โดยผ่านเข้ามาทางบาดแผล
การปฎิบัติตัว
เมื่อ ท่านตรวจพบไวรัสตับอักเสบบี ท่านควรจะขอรับคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลตนเองและต้องคำนึงถึงบุคคลใกล้ชิด วิธีการปฎิบัติตัวหากท่านมีเชื้ออยู่ในร่างกาย
- หากท่านเป็นตับอักเสบบีเฉียบพลัน ท่านไม่ต้องกังวลเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เองและมีภูมิคุ้มกัน รับประทานยาและปฎิบัติตาม

คำแนะนำของแพทย์

- รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่าตับท่านมีการอักเสบมากหรือน้อย
- บอกให้คนใกล้ชิดทราบ หากคนใกล้ชิดไม่มีภูมิและไม่มีเชื้อต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัส ตับอักเสบบี
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยาง
- อย่าบริจาคเลือด


ข้อมูลโดย โรงพยาบาลพญาไท

1 ความคิดเห็น: