ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความดันโลหิตต่ำ Hypotension


ความดันโลหิตต่ำ Hypotension


โรคความดันโลหิตต่ำ ( Hypotension )
โรค ความดันโลหิตต่ำเป็นโรคพบน้อยกว่าโรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำมีอันตรายและภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ น้อยกว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ภาวะความดันโลหิตต่ำก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง เพราะความดันโลหิตต่ำจะทำให้คุณเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนแรง เป็นลมได้ง่าย และผู้ป่วยจะมีอาการวิงเวียนได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนท่า จากท่านอนมาเป็นยืนหรือนั่ง


สาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ
• สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง และคลายตัวมากเกินไป
• การสูญเสียโลหิต ทั้งแบบกะทันหัน เช่นอุบัติเหตุ หรือการสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง เช่น บาดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้หรือที่ไต
• การสูญเสียน้ำ เช่น เหงื่อ ท้องเสีย หรือการขาดการดื่มน้ำที่เพียงพอต่อร่างกาย
• การติดเชื้อรุนแรง เช่นสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร
• โรคหัวใจ
• การตั้งครรภ์

อาการของโรค
ส่วน ใหญ่ของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ มักมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะได้ง่าย เหงื่อแตก ใจเต้นเร็ว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นลมหมดสติ หรือเกือบหมดสติ แล้วหากเวลาที่มีการเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว เช่นจากนั่งยองๆ แล้วลุกขึ้นยืน หรือกำลังนอนอยู่แล้วลุกขึ้นเร็วๆ จะเกิดอาการเวียนศีรษะชั่วคราว อาการหน้ามืดวิงเวียนดังกล่าวเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จะรู้สึกตาพร่าหรือตาลายร่วมด้วย แต่พอผ่านไปซักพักก็จะหายกลับมามองเห็นชัดเป็นปกติ หากมีอาการอดนอนหรือนอนไม่พอ จะมีอาการเวียนหัวและอ่อนเพลียได้ง่าย

การรักษา
หากมีอาการดังกล่าวแล้วไม่แน่ใจ ควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาตามสาเหตุ
- ถ้าไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจต้องตรวจเลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ ที่จำเป็น
- แนะนำให้ลุกขึ้นนั่งหรือยืนช้า ๆ อย่าลุกพรวดพราด เพื่อให้ร่างกายปรับตัว
- ควรออกกำลังกายบ้าง แต่ค่อยๆออกกำลังกาย อย่าหักโหม เพื่อช่วยให้หัวใจแข็งแรง
- หากมีปัญหาเรื่องขาดอาหาร ก็ควรให้สารอาหารชดเชย อาทิเช่น
• กรดโฟลิคจากน้ำผึ้งช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
• กรดอะมิโนในสาหร่ายเกลียวทอง เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผนังเส้นเลือดและระบบประสาทอัตโนมัติ
• วิตามินบี เกลือแร่ ในว่านหางจระเข้ช่วยให้เกิดสมดุลของความดันโลหิต
• วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม ธาตุเหล็กและกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย
• วิตามินอีในเมล็ดทานตะวันช่วยลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง
• ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีน เช่นเนื้อปลา เพราะอาหารเหล่านี้จะช่วยสร้างเม็ดเลือดและกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนต่อม หมวกไต ช่วยในการปรับระดับความดันโลหิตให้สูงขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น