Morseng herbs Delivery in LuangPrabang ,Laos สุนจำหน่าย สะหมุนไพ หมอเส็ง LuangPrbang สปปลาว บอลิกานส่งเภิงที่ in Luang Prabang พิเสด รับสะมาชิก ตัวแทนจำหน่าย ลายได้ดี Tel 856 20 22380244 สนใจ ร่วมธุรกิจเพียง 500 บาท โดยไม่ต้องลงทุน หรือสมัครสมาชิกเพื่อรับส่วนลดสินค้า25%ตลอดชีพทั่วประเทศ โดยมีการต่ออายุสมาชิก 100 บาทต่อ year ได้ทันทีโทร 850 20 22380244 รับแฟ๊ม แค๊ตตาล็อคสินค้า คู่มือดำเนินธุรกิจ บัตรสมาชิกตลอดชีพ จัดส่งถึงบ้าน
ค้นหาบล็อกนี้
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ตับแข็ง Liver cirrhosis
ตับแข็ง Liver cirrhosis
ตับ มีหน้าที่เปรียบเสมือนโรงงานใหญ่ที่คอยจัดการกับสารอาหารต่างๆ เมื่อคนเรากินเข้าไป ตับจะสลายและสร้างสารตัวใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ขณะเดียวกันสารต่างๆ ที่ร่างกายใช้ไปแล้ว ก็จะกลับมาเผาผลาญที่ตับ เพื่อขับเป็นของเสียออกจากร่างกาย
ตับ ยังทำหน้าที่อย่างดีเพื่อดูแลสุขภาพของเรา เช่น ขจัดสารพิษหรือเชื้อโรคออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันบางอย่างขึ้นมาเพื่อต่อสู้โรคติดเชื้อ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัว ทำหน้าที่สร้างน้ำดี ซึ่งมีบทบาทในการดูดซึมไขมันและวิตามินชนิดละลายในน้ำมันให้กับร่างกาย
โรคตับ แข็งเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของตับ โดยปกติเนื้อตับจะนุ่ม แต่ถ้ามีอาการอักเสบหรืออันตรายต่อตับ เนื้อตับจะถูกทำลายกลายเป็นพังผืดลักษณะคล้ายแผล ซึ่งจะทำให้ไปเบียดเนื้อตับที่ดี และทำให้เลือดไปเลี้ยงตับน้อยลง ถ้ามีการทำลายเซลล์ตับอย่างเรื้อรังจนมีพังผืดเกิดขึ้นมาก เนื้อตับที่เคยนุ่มจะค่อยๆแข็งขึ้น จนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ส่งผลให้สมรรถภาพการทำงานของตับลดลง ซึ่งนำมาสู่สุขภาพร่างกายแย่ลงด้วย
สาเหตุ ที่เซลล์ตับถูกทำลายมีอยู่หลายประการ ที่พบบ่อยมากมักจะเกิดจากการดื่มเหล้าจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งแอลกอฮอล์ในเหล้าหรือสุราเมื่อดื่มไปมากๆ จะทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในตับ จึงเกิดภาวะตับอักเสบและเรื้อรังจนกลายเป็นโรคตับแข็ง นอกจากนี้ ภาวะตับแข็งยังอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี หรือการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันนานๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด หรืออาจเป็นเพราะการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เป็นโรคตับแข็งได้ด้วย เช่น โรคทาลัสซีเมีย อ้วน เบาหวาน ภาวะหัวใจเรื้อรัง และภาวะขาดอาหาร
คนเป็น โรคตับแข็งในระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน อาจมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย จึงไม่ค่อยรู้สึกตัวว่ามีความผิดปกติที่ตับ ต่อมาจะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนเป็นบางครั้ง น้ำหนักลด อาจรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงขวาเล็กน้อย เนื้อตัวและนัยน์ตาเหลือง เนื่องจากตับไม่สามารถขับน้ำดี จึงมีการสะสมน้ำดีตามผิวหนังจนมีสีออกเหลืองๆ และยังทำให้มีอาการคันตามตัวได้ ความรู้สึกทางเพศลดลง ในผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรือมีเสียงแหบแห้งคล้ายผู้ชาย ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อตัว บางคนอาจสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง
เมื่อ เป็นโรคตับแข็งอยู่หลายปีหรือยังดื่มเหล้าจัด จะมีอาการท้องมาน เท้าบวม เนื่องจากตับไม่สามารถสร้างโปรตีนอัลบูมิน (albumin) ซึ่งเป็นตัวควบคุมความดันน้ำในหลอดเลือดได้เพียงพอ พังผืดที่ดึงรั้งในตับก็จะมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ มีแรงดันในเลือดเพิ่มมากขึ้น เกิดการแตกแขนงเป็นเส้นเล็กๆ ซึ่งจะเปราะบาง และแตกได้ง่าย เห็นเป็นหลอดเลือดพองที่หน้าท้อง เกิดหลอดเลือดขอดที่หลอดอาหารและขา ซึ่งอาจจะแตก ทำให้อาเจียนเป็นเลือดสดๆ ทำให้เสียเลือดมาก อาจจะช็อกถึงตายได้ ในระยะสุดท้ายเมื่อตับทำงานไม่ได้ที่เรียกว่าตับวาย ก็จะเกิดอาการทางสมอง ซึม เพ้อ ไม่ค่อยรู้ตัว (Hepatic encephalopathy) จนหมดสติได้http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=8094407775040486893#
โรคตับ แข็งนี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาด เพราะเซลล์ตับที่ถูกทำลายไปแล้ว ไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถชะลอหรือหยุดการทำลายตับได้ ถ้าเป็นตับแข็งระยะเริ่มแรก และปฏิบัติตัวได้เหมาะสม ซึ่งจะสามารถมีชีวิตได้นานเกิน ๕-๑๐ ปีขึ้นไป แต่ถ้าปล่อยให้มีภาวะแทรกซ้อนชัดเจน เช่น ดีซ่าน ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด ก็จะมีชีวิตสั้น อาจอยู่ได้ ๒-๕ ปี
การ ดูแลภาวะโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความสำคัญมาก ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรค และการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งอาจไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปอาหารประเภทแป้งจะมีประโยชน์มากกว่าน้ำตาล ควรเน้นการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ส่วนอาหารประเภทโปรตีน ควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์นมและโปรตีนจากพืช ไม่ควรบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากเกินไป ควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยหากยังไม่มีภาวะตับวายสามารถรับประทานโปรตีนได้ในปริมาณปกติ ในรายที่ตับเสื่อมมากๆ การรับประทานโปรตีนมากเกินไปก็จะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ทางที่ดีที่สุดควรรับประทานโปรตีนจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง เป็นต้น
ยาบำรุงร่างกาย(กล่องแดง) ตราหมอเส็ง มีส่วนช่วยบำรุงตับให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น