ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความดันโลหิตสูง Hypertension



ความดันโลหิตสูง Hypertension



โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
ความ ดันโลหิต คือแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ซึ่งแรงดันที่เลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือดจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ อัตราการเต้นของหัวใจ และความต้านทานในหลอดเลือด ค่าความดันโลหิตของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น อุณหภูมิ อากาศ อารมณ์ ความเครียด ภาวะก่อนและหลังการเล่นกีฬา หรือการพักผ่อน ค่าความดันโลหิตในร่างกายของเรามีลักษณะเป็น Circadian Rhythm ซึ่งค่าจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของวัน โดยทั่วไปความดันจะตกในช่วงกลางคืนและเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วในตอนเช้า

ค่าความ ดันโลหิตจะมี 2 ค่าที่เรียกว่า ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) และค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure หรือ DBP) ค่าตัวบนเป็นค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจบีบตัวไล่ เลือดออกจากหัวใจ เป็นช่วงที่แรงดันในเส้นเลือดสูงสุด ส่วนตัวล่างคือค่าความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลาย ตัว เป็นช่วงที่แรงดันในเส้นเลือดต่ำสุด ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรจำค่าทั้งสองไว้ และในแต่ละช่วงอายุของคนเรา ค่าความดันโลหิตจะแตกต่างกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยในแต่ละช่วงอายุ ค่าความดันโลหิตตัวบนและค่าความดันโลหิตตัวล่างไม่ควรเกินเกณฑ์ดังต่อไปนี้



หมายเหตุ : ตัวเลขตัวแรกคือตัวเลขค่าความดันตัวบน ส่วนเลขถัดมาคือค่าความดันตัวล่าง


สำหรับ ผู้สูงอายุที่มากกว่า 65 ปีขึ้นไป ถ้าความดันเลือดที่สามารถวัดได้สูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอท แนะนำให้ผู้สูงอายุลองนอนพักประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงทำการวัดความดันโลหิตใหม่อีกที หากยังได้ค่าความดันเลือดเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับครั้งก่อน ควรทำการวัดความดันโลหิตซ้ำอีกในเวลา 2-3 สัปดาห์อีก 2-3 ครั้ง หากค่าตัวบนและค่าตัวล่างสูงตลอดจึงจะถือว่าเป็นความดันเลือดสูงได้ ความดันโลหิตเป็นค่าไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทุกวินาที จึงไม่แปลกที่เมื่อทำการวัดค่าความดันโลหิตซ้ำในเวลาที่ใกล้เคียงกันแล้วได้ คนละค่า แต่ค่าที่วัดได้ก็ไม่ควรจะแตกต่างกันมากนัก

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของการที่ทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นได้นั้นยังไม่ชัดเจนแต่อาจเกิดจาก
1. โรคไต จะเป็นทั้งชนิดของโรคไตอักเสบเฉียบพลัน หรือไตวายเรื้อรัง
2. โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตบางชนิด
3. โรคครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะของความดันโลหิตสูง ที่เกิดร่วมกับ การตั้งครรภ์ เมื่อคลอดบุตรแล้ว ความดันโลหิตจะลดลง
4. การใช้ยาสเตียรอยด์ หรือสตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิด เมื่องดยาคุมกำเนิดแล้ว ความดันโลหิตจะกลับเป็นปกติ
5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด หรือโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว

อาการของโรค
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มักมีอาการดังนี้
1. ปวดศีรษะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ โดยมักปวดบริเวณท้ายทอย จะมีอาการปวดบริเวณดังกล่าวในตอนเช้า ซึ่งจะพบใน คนที่มีความดันโลหิตสูงค่อนข้างรุนแรง อาการปวดศีรษะจะหายไปได้เอง แต่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ความรู้สึกทางเพศลดลง
2. เลือดกำเดาออก
3. ปัสสาวะเป็นเลือด
4. ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน ดูเบลอๆ

ทำไมต้องลดความดันโลหิตสูง
ความ ดันโลหิตสูงมีผลเกี่ยวเนื่องต่อการทำงานระบบต่างๆในร่างกายด้วย เนื่องจากความดันโลหิตเปรียบเสมือนแรงดันที่คอยสูบฉีดเลือดในร่างกาย ดังนั้นการที่ปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงสมอง ตา หัวใจ และไต เป็นต้น
1.) สมอง หากความดันโลหิตในร่างกายสูงมาก ในขณะที่หลอดเลือดในสมองก็ตีบหรือตัน อาจทำให้หลอดเลือดแตก ซึ่งส่งผลให้เลือดออกในสมองได้ง่ายและอาจทำให้ผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ได้ นอกจากนี้หากความดันโลหิตสูงมากๆทันที อาจทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัวและอาจเกิดอาการชักได้ หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
2.) หัวใจ ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เป็นผลให้หัวใจโต หากหัวใจต้องทำงานหนักมากๆ อาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตายได้มากกว่าคนที่มีความดันปกติทั่วไป
3.) ไต ความดันโลหิตสูงอาจทำให้ไตอักเสบและฝ่อ
4.) ดวงตา ความดันโลหิตสูงจะมีผลต่อหลอดเลือดที่ตา เช่นเลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็กๆที่จอตาอุดตัน ซึ่งจะทำให้ดวงตาพร่ามัวและอาจตาบอดได้

การรักษาโรค
เนื่อง จากความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นการรักษาด้วยการรับประทานยาจึงเป็นลักษณะการควบคุมระดับของค่าความ ดันในร่างกายของเรา ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาเป็นประจำทุก ครั้งที่แพทย์นัด และห้ามหยุดยา เพราะหากหยุดยา ความดันโลหิตอาจกลับมาสูงอีกได้


การรักษาโรคความดันโลหิตสูงมีอยู่ 2 แบบคือ
1. การใช้ยา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ใช้ควบคุมระดับค่าของความดันในร่างกาย โดยแพทย์จะจัดยาให้ตามลักษณะอาการของผู้ป่วย รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่างๆ
2. การไม่ใช้ยา คือการรักษาโดยการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน


• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ อย่าหักโหม ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องกลั้นหายใจหรือใช้แรงเบ่ง เช่นการยกน้ำหนัก วิดพื้น ชักเย่อ เป็นต้น
• การลดน้ำหนัก ควรค่อยๆลดน้ำหนักจนกระทั่งได้น้ำหนักตัวที่มาตรฐานเหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกาย ไม่อ้วนจนเกินไปและไม่ผอมจนเกินไป
• การงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำลายและก่อให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนของโลหิตเร็วและแรงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนัก และแรงดันโลหิตจะพุ่งสูงขึ้น
• การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีรสเค็ม
• เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
• พยายามควบคุมอารมณ์ไม่ให้หงุดหงิด โกรธง่ายหรือตื่นเต้น พยายามฝึกอารมณ์ให้นิ่งและใจเย็น รวมทั้งอยู่กับอากาศบริสุทธิ์จะช่วยให้สุขภาพทั้งกายและใจดีขึ้น
• ควรรับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้ามีส่วนสำคัญต่อการรักษาระดับความดันโลหิตภายในร่างกาย

โภชนาการที่เหมาะสม
หลัก สำคัญในการควบคุมและรักษาระดับค่าความดันโลหิตไม่ให้สูงคือการหลีกเลี่ยง อาหารที่มีรสเค็มและอาหารที่มีไขมันสูง ดังนั้น ผู้ป่วยหรือผู้ที่ยังไม่ป่วยแต่มีภาวะเสี่ยงควรปรับการบริโภคอาหารดังนี้
• หลีกเลี่ยงของการรับประทานอาหารพวกของแห้ง ของเค็มและรมควัน เช่นปลาเค็ม กะปิ กุ้งแห้ง หมูแฮม เบคอน ไส้กรอก เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว ซุปก้อน ผงชูรสและน้ำปลาในการปรุงอาหาร
• หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดองทุกชนิด รวมทั้งน้ำผลไม้กระป๋องด้วย
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่
• หลีกเลี่ยงของหวานเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวและระดับไขมันเพิ่มสูงขึ้นได้
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มพวก ชา กาแฟ ซึ่งมีสารคาเฟอีนสูงกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น สูบฉีดโลหิตแรงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
• ควรรับประทานอาหารเช้าที่มีไขมันต่ำแต่มีคุณค่าทางอาหารสูง
• ควรรับประทานอาหารจำพวกแป้งไม่ฟอกสี เช่นข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต
• หากต้องการรับประทานอาหารจำพวกถั่วเพื่อเสริมโปรตีนในร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพวกถั่วอบเนย หรือถั่วอบเกลือ เพราะมีรสเค็มจะส่งผลต่อความดันในร่างกายได้
• ควรรับประทานนมพร่องมันเนย ถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช
• เลือกใช้ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น ในการปรุงอาหาร และไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันมากๆ
• สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วต้องกินยาขับปัสสาวะ ควรกินส้มหรือกล้วยประจำ เพื่อทดแทนโปแตสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ

ยาหมอเส็งช่วยได้ไหม?

ยาบำรุงร่างกายเบอร์2 ตราหมอเส็ง มีส่วนช่วยในการทำความสะอาดหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ไม่เปราะ แตกง่าย ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จึงเหมาะกับการบำรุงรักษาร่างกายให้เกิดสมดุลกัน ให้มีการบำบัด เยียวยา รักษาด้วยตัวของมันเ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น