Morseng herbs Delivery in LuangPrabang ,Laos สุนจำหน่าย สะหมุนไพ หมอเส็ง LuangPrbang สปปลาว บอลิกานส่งเภิงที่ in Luang Prabang พิเสด รับสะมาชิก ตัวแทนจำหน่าย ลายได้ดี Tel 856 20 22380244 สนใจ ร่วมธุรกิจเพียง 500 บาท โดยไม่ต้องลงทุน หรือสมัครสมาชิกเพื่อรับส่วนลดสินค้า25%ตลอดชีพทั่วประเทศ โดยมีการต่ออายุสมาชิก 100 บาทต่อ year ได้ทันทีโทร 850 20 22380244 รับแฟ๊ม แค๊ตตาล็อคสินค้า คู่มือดำเนินธุรกิจ บัตรสมาชิกตลอดชีพ จัดส่งถึงบ้าน
ค้นหาบล็อกนี้
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
โรคอ้วน Obesity
โรคอ้วน Obesity
โรคอ้วน คือ สภาวะที่ร่างกายเรามีไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกายเกินความจำเป็นนั่น เอง ซึ่งปริมาณพลังงานที่เราได้รับจากการรับประทานอาหารมีมากกว่าพลังงานที่เรา ได้ใช้จากการออกกำลังกายหรือการทำงาน ทำให้เกิดพลังงานที่เหลือสะสมอยู่ในรูปแบบของไขมัน โดยปกติเราจะใช้วิธีการง่ายๆด้วยการเอาส่วนสูงเป็นเซนติเมตร –100 หรือ 110 สำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิง เราจะใช้วิธีเอาส่วนสูง (ซม.) -110 เพื่อที่จะได้ทราบถึงน้ำหนักตัวที่เหมาะสม แต่วิธีดังกล่าวยังได้ผลไม่แน่นอนเท่าที่ควร เนื่องจากมวลน้ำหนักกระดูกในร่างกายหรือโครงสร้างของร่างกายแต่ละคนแตกต่าง กัน ดังนั้นเราจึงใช้วิธีการวัดแบบดัชนีวัดค่ามวลของร่างกายที่เรียกว่า Body Mass Index หรือ BMI
วิธีการคำนวณค่า BMI ในร่างกาย = น้ำหนัก(กิโลกรัม.) / ส่วนสูง(เมตร)2
ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงมีส่วนสูง 160 ซ.ม. หนัก 50 กก.
วิธีคิดค่า BMI คือ 50 กก./1.6 (เมตร)2 = 19.5 กก./ม.
ซึ่ง ค่าปกติ BMI ของผู้หญิงควรอยู่ระหว่าง 19-25 กิโลกรัมต่อเมตร หากได้ค่า BMI มากเกินกว่า 25 ถือว่าเริ่มอ้วนแล้ว ส่วนผู้ชายควรมีค่า BMI อยู่ที่ระหว่าง 20-25 กิโลกรัมต่อเมตร โดยน้ำหนักมาตรฐานที่เหมาะสมของทั้งผู้หญิงและผู้ชายควรอยู่ในระหว่างค่า เฉลี่ย BMI ซึ่งหากว่าค่า BMI น้อยกว่าค่าเฉลี่ย แสดงว่าเราผอมเกินไป แต่หากได้ค่ามากเกินกว่าค่าเฉลี่ย BMI แสดงว่าเราอ้วนเกินไป และเนื่องจากพออายุมากขึ้น ระบบการเผาผลาญไขมันในร่างกายจะลดลง ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงมีปัญหาเรื่องโรคอ้วน ทั้งๆที่พฤติกรรมและปริมาณอาหารที่บริโภคก็เท่าเดิม แต่น้ำหนักกลับขึ้นเอาๆ และเรื่องของความอ้วนไม่ได้หยุดอยู่แค่การมีไขมันมาพอกหนาตามร่างกาย แต่ยังนำพาภาวะเสี่ยงของโรคต่างๆ อีกมากมาย เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม โรคมะเร็ง เป็นต้น
สาเหตุของโรคอ้วน
สาเหตุหลักๆ ของโรคอ้วนมีอยู่ 2 ปัจจัยคือปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน
1. สาเหตุจากปัจจัยภายนอก เกิดจากพฤติกรรมการกิน การที่เราตามใจปากของเรามากเกินไป รับประทานอาหารเกินกว่าปริมาณอาหารที่ร่างกายของเราต้องการ โดยการรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ไขมันและของหวานในปริมาณมากๆ รวมทั้งการกินจุกจิก ในขณะที่เราไม่ค่อยได้ทำงานหรือออกกำลังกายน้อย ก็จะทำให้ไขมันไปสะสมพอกพูนตามส่วนต่างๆของร่างกายเราได้
2. สาเหตุจากปัจจัยภายใน เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ได้แก่
• จากความผิดปกติของระบบการทำงานภายในร่างกาย เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ทำให้มีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย
• กรรมพันธุ์ ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ ลูกที่เกิดมามีโอกาสอ้วนได้ถึง 80% แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกมีโอกาสอ้วนได้ถึง 40%
• โรคประจำตัวหรือการได้รับอุบัติเหตุ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายได้สะดวก จึงรับประทานอาหารมากกว่าที่จะสามารถออกกำลังกาย
• จากการรับประทานยาบางชนิดสามารถทำให้อ้วนขึ้นได้ เช่นยาบำรุงเลือด ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนสเตียรอยด์ หากผู้ป่วยได้รับยาเป็นเวลานานทำให้อ้วนได้
• เพศ เพศหญิงมักมีโอกาสอ้วนได้ง่ายกว่าเพศชาย เนื่องจากโดยนิสัยธรรมชาติของผู้หญิงที่ชอบการรับประทาน โดยเฉพาะของหวาน อีกทั้งในภาวะที่ตั้งครรภ์ ก็ทำให้ผู้หญิงต้องรับประทานอาหารมากขึ้นเพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ แต่หลังจากคลอดลูกแล้ว บางรายอาจลดน้ำหนักได้ แต่บางรายอาจลดไม่ได้ นอกจากนี้ผู้หญิงยังทำงานหนักน้อยกว่า การออกกำลังกายน้อยกว่า ทำให้โอกาสที่ผู้หญิงจะอ้วนมากกว่าผู้ชายอยู่ที่ 4 ต่อ 1
ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการลดความอ้วนด้วย
นอก จากความอ้วน หรือภาวะอ้วนจะทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่คล่องตัวแล้ว ความอ้วนยังมีผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ทำให้ขาดความมั่นใจได้ง่ายในการเข้าสังคม ความอ้วนยังถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้มากมาย อาทิเช่น
1. ไขมันในเลือดสูง สามารถนำไปสู่ความผิดปกติในการทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกายได้ โดยเฉพาะเมื่อไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ยิ่งหนามากขึ้นๆ ทำให้ทางเดินของเลือดไหลเวียนไปไม่สะดวกในการไปหล่อเลี้ยงเซลล์ทุกส่วนของ ร่างกาย และเมื่อร่างกายของเราบางส่วนได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ย่อมจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมาอีกมาก ทั้งโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ มึนงงบ่อยๆ เป็นลม เมื่อเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่ดี เซลล์ต่างๆก็เสื่อมสภาพโทรมลง อนุมูลอิสระก็เกิดเร็วขึ้น จึงทำให้เราดูแก่ขึ้นได้ชัด
2. โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นได้ง่ายกับคนอ้วน และในคนไข้ที่ป่วยเป็นเบาหวานด้วยแล้ว ความอ้วนจะส่งผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินได้ ทำให้การรักษาโรคเบาหวานทำได้ยากมากขึ้น และหากผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีรูปร่างอ้วนด้วยแล้ว ต้องคอยระมัดระวังอย่างมากเพราะหากเกิดบาดแผลจะรักษาไม่หายทำให้กลายเป็นแผล เรื้อรัง บางทีอาจเกิดแผลกดทับ ประกอบกับอาจเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราที่แผลได้ง่ายขึ้น เพราะเนื่องจากมีความอับชื้นตามซอกแขนและซอกขาที่มีไขมันมากกว่าปกติ
3. โรคความดันโลหิตสูง เมื่อไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือดมาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการไหลเวียนโลหิตภายในร่างกาย ซึ่งหัวใจของเราจะทำหน้าที่เหมือนปั๊มน้ำ ที่กระตุ้นและผลักดันให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย หากในบางจุดเส้นเลือดตีบ แต่ร่างกายต้องการเลือด มันอาจจะออกแรงผลักดันเลือด ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกถึงแก่ชีวิต หรืออาจพิการเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ได้
4. โรคหัวใจ เนื่องจากไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ส่งผลให้หัวใจของเราทำงานหนักมากขึ้น ถ้าไขมันที่ไปเกาะตามผนังหลอดเลือดเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจก็ทำให้ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด และเกิดอาการหัวใจวาย
5. โรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากคนอ้วนมักมีการเคลื่อนไหวน้อย ไม่ค่อยได้ทำงานหรือออกกำลังกาย ทำให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ การทำงานของปอดลดลง ก่อให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจได้ง่าย บางครั้งถึงกับมีการหายใจลดลง หายใจติดขัด จึงเป็นเหตุทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในปอดได้ง่าย ซึ่งทำให้คนที่อ้วนมากๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่ายและง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา
6. โรคข้อกระดูกเสื่อม เนื่องจากต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินกว่าที่กระดูกข้อเข่าและข้อเท้าจะรับ ได้ ทำให้คนที่อ้วนมากๆ บางคนไม่สามารถยืนหรือเดินได้เลย เพราะกระดูกข้อเท้าไม่มีกำลังมากพอที่จะแบกรับน้ำหนักได้ไหว คนอ้วนมากๆจึงเคลื่อนไหวได้ลำบาก เดินเอียงไปเอียงมา และมีอาการเหนื่อยง่าย
7. โรคนิ่วในถุงน้ำดีและการที่มีไขมันไปแทรกในตับ ซึ่งเมื่อร่างกายของเรามีไขมันมาก จะทำให้การทำงานของตับลดลง เพราะไขมันจะเข้าไปแทรกอยู่จนทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
8. โรคมะเร็ง ไขมันที่สะสมอยู่มากๆ จะทำให้ระบบการทำงานในร่างกายของเราผิดปกติ เกิดภาวะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็งบางอย่างได้ง่าย เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งในถุงน้ำดี เป็นต้น
ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
1. ไม่รับประทานอาหารเช้า จริงๆแล้ว เราควรรับประทานอาหารมื้อเช้าเป็นประจำทุกวัน อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดนอกจากจะบำรุงสมองแล้ว ยังช่วยให้ระบบเผาผลาญอาหารทำงาน การเลี่ยงไม่รับประทานอาหารเช้าจะทำให้ร่างกายไม่ใช้พลังงานส่วนนี้ การรับ ประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันไม่ให้อ้วนง่าย ลดน้ำหนักได้ดีกว่าคนที่ไม่กินอาหารเช้า และสำหรับคนที่ลดแล้วก็จะคงน้ำหนักตัวได้ง่าย
2. อดอาหารมากเกินไป เข้มงวดกับร่างกายจนเป็นการกระตุ้นทำให้ร่างกายเกิดความหิวและความอยากอาหารมากขึ้น ในที่สุดก็ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ
3. ขาดจุดยืนหรือแรงจูงใจที่ชัดเจน หากต้องการลดน้ำหนักจริงๆ ควรตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากลดน้ำหนักได้กี่กิโลกรัมต่อเดือน แล้วควรทำอย่างไร ควรตั้งเป้าหมายที่พอเป็นไปได้และไม่หักโหมกับการลดน้ำหนักมากจนเกินไป
4. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูง การดื่มกาแฟยิ่งถ้ามีน้ำเชื่อมกับวิปครีม อาจทำให้เป็นการเพิ่มน้ำหนักและไขมันในร่างกายได้ รวมไปถึงการดื่มไวน์ร่วมกับอาหารมื้อค่ำหรือดื่มน้ำผลไม้ระหว่างวัน อาจทำให้แคลอรี่สูงซึ่งส่งผลกระทบต่อการลดน้ำหนักได้ ควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำสมุนไพรแบบไม่ใส่น้ำตาลจะเหมาะกว่า
5. ไม่ยอมออกกำลังกาย ไม่ใช่แค่จำกัดการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว ควรเลือกที่จะใช้พลังงานแคลอรี่ที่ได้รับในร่างกาย โดยดึงออกมาใช้ด้วยการออกกำลังกาย
6. เครียด บางรายเครียดจัดที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เลยกลับมารับประทานอาหารเหมือนเดิม
7. นอนดึก นอกจากจะทำให้ร่างกายดูโทรมและแก่เร็วแล้ว ยังทำให้รู้สึกหิวมากขึ้นด้วย
การป้องกันโรคอ้วน
การ แก้ปัญหากับความอ้วนนี่ขึ้นอยู่ที่ใจล้วนๆ ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมคือการปรับพฤติกรรมการบริโภค การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย หากสาเหตุของการอ้วนขึ้นเกิดจากอาการป่วยหรือความผิดปกติในร่างกาย ควรพบและปรึกษาแพทย์และทำการรักษา แต่หากอ้วนเพราะกรรมพันธุ์ อันนี้คงต้องใช้วิธีการควบคุมพฤติกรรมการกิน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไขมันต่ำ ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อย่าง ไรก็ตาม มีคนจำนวนไม่น้อยชอบคิดว่าตัวเองอ้วน หรือว่ามีภาวะอ้วนจริงๆ และต้องการอยากลดความอ้วนได้อย่างรวดเร็วทันใจ ทำให้เลือกที่จะรับประทานยาลดความอ้วน ซึ่งต้องระมัดระวังให้มาก เพราะในยาลดความอ้วนจะมีสารที่ออกฤทธิ์แรงและแพทย์จะไม่แนะนำเลย เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานเข้าไปอาจทำลายอวัยวะภายในร่างกาย อันจะส่งผลทำให้เสียชีวิตได้ ทางที่ดีควรเลือกวิธีการลดความอ้วนด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และตั้งใจลดความอ้วนแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจให้ผลช้าหน่อยแต่ปลอดภัยกับชีวิตของเรามากกว่า
โภชนาการสำหรับการลดความอ้วน
การ ลดน้ำหนักที่ดีและให้ได้ผลควรค่อย ๆ เป็นค่อยๆไป เพราะการลดอาหารแบบให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วนั้น อาจส่งผลเสียต่อระบบการทำงานภายในร่างกายได้ เช่นหัวใจ ผิวหนัง เป็นต้น การลดน้ำหนักไม่ได้หมายความว่าเป็นการลดการบริโภคอาหาร แต่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานให้ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับการลดน้ำหนักมีดังนี้
• รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารแต่ละหมู่ให้หลากหลาย
• ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตแบบไม่ฟอกสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น
• รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ แต่ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง
• เลือกรับประทานอาหารประเภทโปรตีนและแคลเซียม เช่นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา นมพร่องมันเนย โยเกิรต์ถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช เป็นต้น
• รับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอต่อความต้องการในร่างกาย จำกัดการรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด
• เลือกใช้ไขมันพืชแทนไขมันสัตว์ในการปรุงอาหาร เช่นน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น แต่สำหรับน้ำมันปาล์มควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูง
• เลือกปรุงอาหารโดยใช้วิธีนึ่ง ต้ม ตุ๋น อบ แทนการทอดหรือย่าง หากต้องการปรุงอาหารด้วยวิธีการผัด ไม่ควรใส่น้ำมันเยอะ
• ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ประกอบด้วยแป้งหรือไขมันมากๆ เช่นซาลาเปา ปาท่องโก๋ หมูสามชั้น หนังไก่ หนังหมู ไข่แดง เป็นต้น รวมไปถึงอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร
• ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำหวาน ชาและกาแฟ เลือกดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำสมุนไพรที่ไม่ใส่น้ำตาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น