ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปวดหลัง



ปวดหลัง คนทำงานหน้าคอมพ์ฯ

สาเหตุ ประมาณร้อยละ 80 ของอาการปวดหลัง มาจากอาการหลังตึง หรือการที่กล้ามเนื้อหลังเกร็ง เคล็ด หรือฉีกขาด มักส่งผลต่อส่วนล่างของช่วงหลังและลำคอ ซึ่งอาการหลังตึง หรือกล้ามเนื้อหลังฉีกขาด อาจจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวผิดท่า หรืออยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม การใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ การตกจากที่สูง อุบัติเหตุ หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การยกของหนัก


อาการ เจ็บปวดแบบนี้จะหายไปภายใน 2-3 วันหลังจากกินยา หรือการยืดเหยียด และการพักผ่อน ในกรณีที่อาการปวดคงอยู่มากกว่า 4 สัปดาห์ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เช่น กระดูกหัก หรืออาการบาดจ็บอื่นๆ หมอนรองกระดูกเสื่อม ฯลฯ

อาการปวดหลัง มี 2 ลักษณะ คือ
1. อาการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา จะปวดบริเวณสะโพก ต้นขา ก้นกบ ไม่ปวดต่ำกว่าหัวเข่า
2. อาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างและมีอาการปวดร้าวลงขา อาจจะทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง จะปวดต่ำกว่าหัวเข่า (น่อง แข้ง หลังเท้า ส้นเท้า ฝ่าเท้า บางครั้งรู้สึกเหมือนเป็นเหน็บ และอาการจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ


อาการที่ควรพบแพทย์ทันที

1. ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 55 ปี เริ่มมีอาการปวด
2. เริ่มปวดหลังจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือจากอาการบาดเจ็บอื่นๆ
3. มีอาการปวดบริเวณส่วนบนของกระดูกสันหลัง
4. แขนขา หมดแรง หรือรู้สึกปวดจี๊ดๆ คล้ายถูกไฟดูด
5. มีอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นร่วม เช่น มีไข้ ปวดท้อง
6. รู้สึกเจ็บเมื่อยึดตัวไปข้างหน้า


การรักษาอาการปวดหลังและคอ

ส่วน ใหญ่มักหายได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการรักษาที่ซับซ้อน เพียงนอนพักผ่อน กินยาแก้ปวดหรือประคบเย็น อาการก็อาจจะดีขึ้นได้ภายในเวลาไม่กี่วัน หรือไม่เกินสัปดาห์ แต่หากไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์อย่างละเอียด ซึ่งเมื่ออาการมากจนถึงขนาดกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ แพทย์อาจจะวินิจฉัยด้วยการใช้วิธีผ่าตัด ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถผ่าตัดด้วยระบบไมโครสโคป (Microscope) ที่แผลเล็กเพียง 2-3 ซ.ม. พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 2-3 วันก็กลับบ้านได้ หรือผ่าตัดด้วยระบบเอนโดสโคป (Endoscope) แผลเล็ก บอบช้ำน้อย ไม่ต้องตัดกล้ามเนื้อหรือกระดูก พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 24 ช.ม. ก็กลับบ้านได้


การป้องกันอาการปวดหลัง

1. อย่าให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักอย่างเดียว สร้างกล้ามเนื้อมาช่วยรับน้ำหนัก นั่นคือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. อย่าให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากเกินไป ต้องรักษาน้ำหนักตัวให้พอดี อย่าให้อ้วนมากจนน้ำหนักเกิน อย่ายกของหนักเกินกำลัง
3. รักษาท่าทางการนั่ง ยืน เดิน ให้ถูกต้อง

นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม
โรงพยาบาลบำรุงราฎร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น