ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กินยาหมอเส็งเวลาไหนได้ผลดี 40 เท่า

นาฬิกาชีวิต
พอดีไปอ่านเจอหนังสือดีๆเล่มหนึ่งที่เขียนโดยอาจารย์สุทธิวัสส์ คำภา ที่มีชื่อว่า “นาฬิกาชีวิต (biological clock)” ซึ่งได้ให้ความรู้และกล่าวถึงการใช้ชีวิตของคนเราให้เหมาะสมกับเวลาที่ลม ปราณไหลผ่านอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีสาระสำคัญที่ผมได้ยกมาจากหนังสือเล่มนี้ดังต่อไปนี้
การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของ ร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง
  • อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
  • อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถงุน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ
  • ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว)
การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ตัวอย่างเช่น การไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น. และสูงสุดในช่วงประมาณ 04.00 น. จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง และออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่เวลา 05.00 น. การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจึง ควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00-05.00 น. ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตก คือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (มีการคั่งของน้ำในปอด) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณ 40 เท่า ของการให้เวลาอื่น เป็นต้น
การเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะ ภายในปีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายเราจึงมีกลไกการปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทำงานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป
 
ช่วงเวลา
ระบบที่เกี่ยวข้อง
ข้อควรปฏิบัติ
01.00-03.00
ตับ
นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท
03.00-05.00
ปอด
ตื่นนอน สูดอาการบริสุทธิ์
05.00-07.00
ลำไส้ใหญ่
ขับถ่ายอุจจาระ
07.00-09.00
กระเพาะอาหาร
กินอาหารเช้า
09.00-11.00
ม้าม
พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ
11.00-13.00
หัวใจ
หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง
13.00-15.00
ลำไส้เล็ก
งดอาหารทุกประเภท
15.00-17.00
กระเพาะปัสสาวะ
ทำให้เหงื่อออก(ออกกำลังกายหรืออบตัว)
17.00-19.00
ไต
ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
19.00-21.00
เยื่อหุ้มหัวใจ
ทำสมาธิ หรือสวดมนต์
21.00-23.00
ระบบความร้อนของร่างกาย
ห้ามอาบน้ำเย็น ตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น
23.00-01.00
ถุงน้ำดี
ดื่มน้ำก่อนเข้านอน

เกี่ยวกับการกินยาหมอเส็งอย่างไร ?

“สาระสำคัญของเรื่องนี้ คือ การกินยาหมอเส็งตามนาฬิกาชีวิตครับ จากข้อมูลในหนังสือที่ผมได้ยกมาให้อ่านจะทราบว่า การให้ยาในเวลาที่ลมปราณไหลผ่านอวัยวะที่เรามีปัญหาจะช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ ดีขึ้น 40 เท่าตัว ยกตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น
หากเรามีปัญหาโรคกระเพาะอาหาร เวลาที่เหมาะกับการใช้ขมิ้นชันหมอเส็ง ให้รักษาโรคกระเพาะอาหารให้ได้ผลดี คือ ช่วงเวลา 07.00 – 09.00 และถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด เวลาที่ควรทานยา คือ 08.00 เพราะเป็นเวลากึ่งกลางในช่วงเวลาที่ลมปราณไหลผ่านกระเพาะอาหารพอดี”
ทีนี้ปัญหาที่ผมคาดว่าท่านผู้อ่านน่าจะต้องเจอ คือ แล้วถ้าป่วยเป็นโรค… ต้องทานยาหมอเส็งเวลาไหนดี ? ถ้าเป็นโรคที่เข้าใจง่ายอย่างกระเพาะอาหาร ดูในตารางนาฬิกาชีวิตด้านบนก็พอจะทราบได้ใช่ไหมครับ ? แต่ถ้าเป็นโรคที่สลับซับซ้อนหน่อย เช่น อัลไซเมอร์ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซีสต์ในอวัยวะสืบพันธุ์ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไมเกรน ดูจากตารางก็อาจจะไม่ทราบใช่ไหมครับ ? ดังนั้น ผมเองจึงได้รวบรวมเวลาที่เหมาะสมในการทานยาสำหรับผู้ป่วยโรคยอดนิยม 7 โรค ไว้ให้ แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่าอย่าเชื่อผมทั้งหมด เพราะผมใช้วิธีอ่านเนื้อหาในเว็บ pendulumthai.com แล้ววิเคราะห์ด้วยตนเอง
อาการเจ็บป่วย
ระบบที่เกี่ยวข้อง
ช่วงเวลา
เบาหวาน
ม้าม, ตับอ่อน
09.00 – 11.00
มีบุตรยาก
กระเพาะปัสสาวะ
15.00 – 17.00
ไทรอยด์
กระเพาะปัสสาวะ
15.00 – 17.00
ริดสีดวงทวาร
สำไส้ใหญ่
05.00 – 07.00
เกาต์
ม้าม, ตับอ่อ่น
09.00 – 11.00
ประจำเดือนมาไม่ปกติ
กระเพาะปัสสาวะ
15.00 – 17.00
ปวดประจำเดือน
กระเพาะปัสสาวะ
15.00 – 17.00
เสื่่อมสมรรถภาพทางเพศ
กระเพาะปัสสาวะ
15.00 – 17.00
สิว
ตับ
01.00 – 03.00
ไมเกรน
ถุงน้ำดี
23.00 – 01.00
หวังว่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีและขอย้ำนะ ครับว่าไม่ต้องเชื่อผมก็ได้ ทดลองทานยาตามเวลาที่คิดว่าเหมาะสมดูแล้วผลที่ได้จะเป็นตัวบอกเองว่า เราทานยาหมอเส็งได้ถูกเวลาหรือเปล่า ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น