ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เมาค้าง HangOver


เมาค้าง HangOver

อาการเมาค้าง (hangover)
กลุ่ม อาการเมาค้างประกอบด้วยอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ตัวสั่น ท้องเสีย บางครั้งมีความดันเลือดตัวบน (systolic blood pressure) สูงขึ้น ชีพจรเร็วขึ้น เหงื่อออกมากขึ้น หรือกลุ่มอาการบ้านหมุน-เวียนหัว (vertigo) ร่วมด้วย

การดื่มเหล้าหนักเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดสมองแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต ส่วนหนึ่งเกิดจากความดันเลือดตัวบนเพิ่มขึ้น


สาเหตุ ของกลุ่มอาการเมาค้างเป็นผลจากเอนไซม์ หรือน้ำย่อยในร่างกาย เปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นอะเซทาลดีไฮด์ (acetaldehyde) ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายสมอง และระบบประสาท นอกจากนั้นแอลกอฮอล์ยังรบกวนการทำงานของฮอร์โมน (เมลาโทนิน) ทำให้เกิดอาการงุนงงสับสนคล้ายๆ กับการเดินทางไกลข้ามเขตเวลา ทางเครื่องบิน (jet lag) และกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวหรือไมเกรน (migraine) ได้

กลุ่ม อาการเมาค้างมักจะเกิดเมื่อระดับแอลกอฮอล์อยู่ใน “ขาลง” และแรงที่สุดเมื่อระดับแอลกอฮอล์เข้าใกล้ศูนย์ ข่าวร้ายของท่านที่คิดว่า การกินเหล้าคราวละเล็กละน้อยจะช่วยลดกลุ่มอาการเมาค้างคือ มีการศึกษาวิจัยหลายชุดพบว่า คนที่ดื่มน้อยหรือดื่มปานกลางกลับมีอาการเมาค้างมากกว่าพวกดื่มหนัก แถมยังมีการศึกษาวิจัยพบว่า คนที่มีญาติเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมักจะมีกลุ่มอาการเมาค้างแรงกว่าคนทั่วไป

อาจารย์ ดอกเตอร์โรเบิร์ต สวิฟท์ นักวิจัยแห่งศูนย์แพทย์สวัสดิการทหารผ่านศึก เมืองโรดไอส์แลนด์ สหรัฐฯ กล่าวว่า วิธีที่คนทั่วโลกลองทำกันมาได้แก่
- ดื่มเพิ่ม หรือ "ถอน" (‘Hair of the dog’) การดื่มเพิ่มไม่ช่วยให้กลุ่มอาการเมาค้างดีขึ้น แต่ทำให้สมองได้รับสารพิษมากขึ้น เกิดกลุ่มอาการเมาค้างครั้งใหม่ซ้ำซากไปเรื่อยๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดเหล้า ตับอักเสบ ตับแข็ง ตับอ่อนอักเสบ สมองเสื่อม และโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ดื่มน้ำ แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ยับยั้งฮอร์โมนวาโซเพรสซิน (vasopressin) ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำทางปัสสาวะมากขึ้น เหงื่อออกมากขึ้น และเกิดภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำมากๆ ในคราวเดียวอาจทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง วิธีที่ดีคือ จิบน้ำคราวละน้อยๆ บ่อยๆ
- กินแป้งและน้ำตาล แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจส่งผลทำลายสมองถาวรได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขภายใน 90 นาที วิธีง่ายๆ คือ การดื่มน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้เย็นๆ และขนม เช่น ขนมปัง ฯลฯ คราวละน้อยๆ บ่อยๆ ต่อไป 1-3 วัน
- ดื่มเหล้าสีเข้ม มีการศึกษาหลายชุดพบว่า เหล้าสีเข้มทำให้เมาค้างน้อยกว่าเหล้าสีอ่อน เรื่องนี้เปรียบคล้ายการ “หนีเสือปะจระเข้” เพราะเหล้าสีเข้มมักจะมีสารจากการหมัก (congeners) รวมทั้งเมธานอล (methanol) ซึ่งมีพิษต่อสมอง ตา และระบบประสาทรุนแรงกว่าแอลกอฮอล์ ผลคือ อาจทำให้เมาค้างมากขึ้น และสมองเสื่อมมากขึ้นได้ (เหล้าเถื่อนบางครั้งอาจมีเมธานอลสูงจนทำให้ตาบอด 2 ข้างได้)
- กินยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอล การกินพาราเซตามอลพร้อมหรือหลังการกินเหล้าทำให้เกิดพิษต่อตับรุนแรง เช่น ตับอักเสบ ตับวาย(ถึงตายได้) ฯลฯ การกินยาแก้ปวดกลุ่มอื่น (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ฯลฯ อาจช่วยให้อาการปวดหัวทุเลาลง ทว่า... อาจทำให้กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ หรือเป็นแผลกระเพาะ และตกเลือดได้


การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า การดื่มกาแฟอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคตับแข็งในคนที่ดื่มเหล้าลงได้
วิธี อื่นที่พอจะช่วยให้อาการเมาค้างลดลงได้แก่ การดื่มกาแฟหรือชา เพื่อลดอาการง่วงงุนงง การดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำคราวละน้อยๆ บ่อยๆ เพื่อลดอาการขาดน้ำ การดื่มน้ำผลไม้ น้ำหวาน หรือกินอาหารประเภทข้าว-แป้งคราวน้อยๆ บ่อยๆ เช่น ขนมปัง ฯลฯ เพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ถ้าพบคนที่มีอาการเมาค้างซึมลง หรือหมดสติ... ควรรีบนำส่งอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้ๆ ทันที เนื่องจากอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ที่ทำลายสมองได้ วิธีการป้องกันกลุ่มอาการเมาค้างที่ดีที่สุดยังคงเป็นการ “งด-ลด-ละ-เลิกดื่มเหล้า(ทุกชนิด)” หรือ “ป้องกันไว้ดีกว่าตามแก้ไข”

กาแฟผสมสมุนไพรชนิดกระป๋อง ตราหมอเส็ง ช่วยลดอาการเมาค้างได้ผลรวดเร็ว และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น